ถึงแม้ลินุกซ์ (Linux) ในปัจจุบันจะมีหน้ากราฟฟิกและทำงานผ่านเมาส์เหมือนวินโดวส์ (Windows) แต่ถึงกระนั้น พื้นฐานดั้งเดิมของมันคือคำสั่งในรูปแบบของคอมมานด์ไลน์ (Command Line) ซึ่งในลินุกซ์ถูกเรียกว่าแบช (Bash) ฉะนั้นในบทความนี้ จะกล่าวถึงคำสั่งของลินุกซ์ที่ผู้ใช้ควรรู้
คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการไฟล์
ls
คำสั่งที่ใช้ดูไฟล์และไดเรกทอรี (Directory) ในไดเรกทอรีปัจจุบัน

cat
พิมพ์ข้อความที่อยู่ในไฟล์

cd
เปลี่ยนไดเรกทอรีปัจจุบัน

pwd
แสดงชื่อที่อยู่ของไดเรกทอรีปัจจุบัน

mkdir
สร้างไดเรกทอรีใหม่

file
แสดงชนิดของไฟล์หรือไดเรกทอรี

cp
ทำสำเนาหรือก๊อปปี้ (Copy) ไฟล์

mv
ย้ายไฟล์รวมไปถึงเปลี่ยนชื่อไฟล์ได้ด้วย

rm
ลบไฟล์

rmdir
ลบไดเรอทอรี

ln
สร้างสิ่งที่ทางวินโดวส์เรียกว่าชอตคัท ขอพูดถึงเรื่องนี้ในโพสอื่น
chmod
เปลี่ยนแปลงสิทธิ์การใช้งานของไฟล์และไดเรกทอรี ขอพูดถึงเรื่องนี้ในโพสอื่น
chown
เปลี่ยนแปลงเจ้าของไฟล์และไดเรกทอรี ขอพูดถึงเรื่องนี้ในโพสอื่น
find
ค้นหาไฟล์และไดเรกทอรี ตามคำที่กำหนด

du
แสดงขนาดของไดเรกทอรี

df
แสดงการใช้ดิสก์ของไฟล์ซิสเตม (File System) รายละเอียดจะพูดถึงในโพสอื่น

mount/unmount
คำสั่งในการนำดิสก์มาผนวกหรือเมานท์ กับ ถอนหรืออันเมานท์ เข้ากับลินุกซ์ รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในโพสอื่น
คำสั่งเกี่ยวกับการเขียนข้อความ
echo
เขียนข้อความแสดงบนหน้าจอ

printf
เขียนข้อความแสดงบนหน้าจอ ต่างกับ echo ตัว printf ตอบสนองกับอักขระพิเศษ ในขณะที่ echo ไม่

>>
นำผลลัพธ์ของคำสั่ง มาใส่ลงในท้ายไฟล์ที่ระบุไว้ แทนที่จะแสดงออกบนหน้าจอ

>
นำผลลัพธ์ของคำสั่ง มาใส่ทับไฟล์ที่ระบุไว้ แทนที่จะแสดงออกบนหน้าจอ

more
นำเสนอข้อความในไฟล์ ถ้าข้อความมีขนาดใหญ่เกินหนึ่งหน้าจอ ระบบจะหยุดข้อความ และจะนำเสนอบรรทัดถัดไป เมื่อกดปุ่มเอนเทอร์ (Enter)

head/tail
head เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ครึ่งส่วนแรก tail เป็นการแสดงข้อความในไฟล์ครึ่งส่วนหลัง


grep
ค้นหาคำในไฟล์ที่ระบุ

sort
เรียงบรรทัดตามตัวอักษร

diff
หาความแตกต่างระหว่างไฟล์สองไฟล์

คำสั่งเกี่ยวกับการจัดการโปรเซส (Process)
ps
แสดงโปรเซสที่ทำงานอยู่ในลินุกซ์ ณ ขณะนั้น

kill
ทำลายโปรเซสที่ทำงานอยู่

top
แสดงโปรเซสในลินุกซ์แบบตามเวลาจริง กดปุ่ม q เพื่อยกเลิก

คำสั่งเกี่ยวกับแบชและการตั้งค่าสภาพแวดล้อม
date
นำเสนอวันเวลาปัจจุบัน

uname
นำเสนอข้อมูลของลินุกซ์ที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน

uptime
นำเสนอข้อมูลว่าระบบทำงานมานานแค่ไหน รวมถึงจำนวนคนที่ใช้งาน

sleep
หน่วงเวลา หน่วยเป็นวินาที

alias
สร้างคำสั่งใหม่โดยอ้างอิงคำสั่งเดิม เพื่อความง่ายความเข้าใจและการใช้งาน

su
รันคำสั่งในฐานะของคนอื่น

sudo
รันคำสั่งในฐานะแอดมิน ลักษณะคล้าย Run as Administrator ของวินโดวส์

history
นำเสนอคำสั่งก่อนหน้าที่เคยสั่งรันออกไป

คำสั่งเกี่ยวกับความช่วยเหลือ (Help)และเอกสาร
whereis
นำเสนอที่อยู่จริงของคำสั่ง

man
บอกวิธีการใช้งานคำสั่ง


whatis
คำอธิบายคำสั่งอย่างย่อ

คำสั่งเกี่ยวกับโครงข่าย (Network)
ip
เครื่องมือในการจัดการเน็ตเวิร์ค จากตัวอย่างคือการนำเสนอไอพีแอดเดรส (IP Address)

ping
ตรวจสอบว่าสามารถเชื่อมต่อกับไอพีที่ระบุได้หรือไม่

อ้างอิง
(1) https://beebom.com/essential-linux-commands/
(2) https://www.hostinger.com/tutorials/linux-commands
(3) https://www.howtogeek.com/412055/37-important-linux-commands-you-should-know/